รัล์ฟ รังนิค
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | รัล์ฟ รังนิค | ||
วันเกิด | 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958 | ||
สถานที่เกิด | บัคนัง เยอรมนีตะวันตก | ||
ส่วนสูง | 1.81 m (5 ft 11 1⁄2 in)[1] | ||
ตำแหน่ง | กองกลางตัวรับ | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ออสเตรีย (ผู้จัดการทีม) | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1976–1979 | เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท 2 | ||
1979–1980 | Southwick | ||
1980–1982 | VfR Heilbronn | 66 | (6) |
1982–1983 | Ulm 1846 | 32 | (0) |
1983–1985 | FC Viktoria Backnang | ||
1987–1988 | TSV Lippoldsweiler | ||
จัดการทีม | |||
1983–1985 | วิคทอเรีย บัคนัง | ||
1987–1988 | TSV Lippoldsweiler | ||
1988–1990 | เอ็สเซ คอร์พ | ||
1995–1996 | เอ็สเอ็สเฟา รียูทนิเทน | ||
1997–1999 | อุล์ม 1846 | ||
1999–2001 | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท | ||
2001–2004 | ฮันโนเฟอร์ 96 | ||
2004–2005 | ชัลเคอ 04 | ||
2006–2010 | 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ | ||
2011 | ชัลเคอ 04 | ||
2015–2016 | แอร์เบ ไลพ์ซิช | ||
2018–2019 | แอร์เบ ไลพ์ซิช | ||
2021–2022[2] | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว) | ||
2022– | ออสเตรีย | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
รัล์ฟ รังนิค (เยอรมัน: Ralf Rangnick; เกิด 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958) เป็นผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน ผู้อำนวยการกีฬา และอดีตนักฟุตบอล[3][4] ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย
ภายหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักฟุตบอล รังนิคได้เริ่มต้นอาชีพผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 1983 ในวัย 25 ปี ต่อมาใน ค.ศ. 1997 เขาได้รับการจ้างจากสโมสร เอสเอสวี อุล์ม 1846 ซึ่งเป็นสโมสรที่เขาเคยเล่นอาชีพ โดยรังนิคสามารถพาทีมชนะเลิศการแข่งขันลีกได้ในฤดูกาลแรกที่คุมทีม ก่อนจะย้ายไปคุมทีมเฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท สโมสรในบุนเดิสลีกา และพาทีมชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพใน ค.ศ. 2000 แต่ก็ถูกปลดในเวลาต่อมาจากผลงานอันย่ำแย่ ต่อมาใน ค.ศ. 2001 รังนิคไปคุมทีมฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา แต่ก็ถูกปลดใน ค.ศ. 2004 ต่อมา รังนิคไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะไปคุมทีมเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ ใน ค.ศ. 2006 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั่นขึ้นมาสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ ก่อนจะลาทีมใน ค.ศ. 2011 เพื่อกลับไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 และพาทีมชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล[5] และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปีนั้น ก่อนจะไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรีย และแอร์เบ ไลพ์ซิชในเยอรมนี และยังทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนให้แก่แอร์เบ ไลพ์ซิชสองครั้งในฤดูกาล 2015–16 และ 2018–19
ในระหว่างการร่วมงานกับเร็ดบุล รังนิคมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานและระบบทีมเพื่อแข่งขันในฟุตบอลยุโรป เขามีบทบาทในการดูแลระบบเยาวชน รวมถึงการเป็นแมวมองในการค้นหาผู้เล่นทักษะดีเข้ามาสู่ทีม และยังเป็นผู้นำปรัชญาการเล่นเกมรุกอันดุดันมาสู่สโมสร[6] ส่งผลให้สโมสรเร็ดบุลมีผลงานที่ดีขึ้น และยังมีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านยูโรเป็น 1.2 พันล้านยูโรในช่วงที่เขาทำงานให้สโมสร[7] รวมถึงการช่วยให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วยผลกำไรมหาศาล และยกระดับทีมขึ้นมาเป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของบุนเดิสลีกามาถึงปัจจุบัน[8] ซึ่งรังนิคยังได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกีฬาและการพัฒนาของสโมสรใน ค.ศ. 2019 ก่อนจะลาออกในปีต่อมา[9] รังนิคเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวให้สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 โดยเซ็นสัญญาไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22
รังนิคได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบการเล่นแบบเกเกนเพรสซิ่ง[a] (Gegenpressing)[10] และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จัดการทีมที่มีปรัชญาในการทำทีมที่ชัดเจน[11] มีความสามารถในการวางระบบและการพัฒนาศักยภาพนักเตะ เขายังถือเป็นบุคคลผู้มีอิทธิพลในการพัฒนาทักษะการคุมทีมของผู้ฝึกสอนหลายคน อาทิ แอ็นสท์ ฮัพเพิล, อาร์ริโก ซาคคี และ ซเดนเยค เซมัน [12] และยังเป็นผู้ฝึกสอนต้นแบบของผู้จัดการทีมชาวเยอรมันชื่อดังมากมาย อาทิ โทมัส ทุคเคิล, ยูลีอาน นาเกิลส์มัน, รัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิล และ เยือร์เกิน คล็อพ[13]
อาชีพผู้ฝึกสอน
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]รังนิคเริ่มต้นอาชีพการเป็นผู้ฝึกสอนในช่วงทศวรรษ 1980 โดยสโมสรแรกที่เขาคุมทีมคือ Viktoria Backnang สโมสรในบ้านเกิดของเขาที่เมืองบัคยัง, เยอรมนี ซึ่งเขาเซ็นสัญญาในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ตามด้วยการย้ายไปคุมทีมสำรองของเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท[14] และ Lippoldsweiler ตามลำดับ
ต่อมาใน ค.ศ. 1988 รังนิคไปคุมทีมเอสซี คอร์ป เป็นเวลาสองฤดูกาล ก่อนจะกลับมาร่วมงานกับซตุทท์การ์ทในฐานะผู้จัดการทีมรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี และพาทีมชนะเลิศการแข่งขันบุนเดิสลีการะดับเยาวชนใน ค.ศ. 1991 ก่อนจะลาทีมเพื่อไปคุมสโมสร SSV Reutlingen 05 ในลีกสมัครเล่นของเยอรมนี และพาทีมจบอันดับ 4 ได้ในฤดูกาลแรก[15] และรังนิคได้อำลาทีมในฤดูกาล 1997 เพื่อคุมอุล์ม 1846 อดีตสโมสรซึ่งเขาเคยเล่นอาชีพ[16]
การคุมทีมนัดแรกอย่างเป็นทางการในฐานะผู้จัดการทีมของอุล์ม จบลงด้วยความพ่ายแพ้ต่อกร็อยเทอร์เฟือร์ท 0–2 และรังนิคพาทีมจบฤดูกาลแรกด้วยอันดับ 6 ก่อนจะพาทีมคว้าแชมป์ลีกระดับ 3 ได้ในฤดูกาล 1997–98 และยังพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องในซไวเทอบุนเดิสลีกา และมีส่วนสำคัญในการวางระบบการเล่นใหม่ ๆ ของทีมรวมถึงการหาผู้เล่นฝีเท้าดีเข้าสู่ทีม ส่งผลให้สโมสรสามารถเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดอย่างบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ใน ค.ศ. 2000
อย่างไรก็ตาม รังนิคได้เจรจากับเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ทในช่วงกลางฤดูกาลที่สองที่เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมของอุล์ม และทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการดึงตัวรังนิคไปคุมทีมในฤดูกาลถัดไป และข่าวนี้ได้รั่วไหลสู่สาธารณชนในในเวลาต่อมา ส่งผลให้รังนิคลาออกจากการคุมทีมอุล์ม และเซ็นสัญญากับซตุทท์การ์ทในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999
เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท
[แก้]รังนิคเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 และคุมทีมในช่วง 5 นัดสุดท้ายของฤดูกาล และพาทีมชนะได้ 2 จาก 5 นัด จบในอันดับ 11[17] ต่อมา เขาได้คุมทีมเต็มฤดูกาลในฤดูกาลถัดมา และพาทีมจบอันดับ 8 ต่อมา เขาพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ได้ในฤดูกาลที่สาม รวมถึงเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าคัพ และรอบรองชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่รังนิคได้ถูกปลดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 จากผลงานย่ำแย่ของทีม โดยอันดับของซตุทท์การ์ทได้ตกลงไปท้ายตาราง[18]
ฮันโนเฟอร์ 96
[แก้]รังนิคย้ายมาร่วมงานกับฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา และสามารถพาทีมเลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี[19] ในฤดูกาลต่อมา ฮันโนเฟอร์ 96 จบในอันดับ 11 แต่รังนิคได้ถูกปลดกลางฤดูกาล 2003–04 เนื่องจากทีมมีผลงานย่ำแย่โดยตกลงไปอยู่อันดับ 15 ของตาราง[20]
ชัลเคอ 04
[แก้]รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีม ชัลเคอ 04 ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2004 โดยมาแทนที่ยุพ ไฮน์เคิส และพาทีมผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกในยูฟ่าคัพได้ ก่อนจะแพ้ชัคตาร์ดอแนตสก์ และยังพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่แพ้ไบเอิร์นมิวนิก 1–2[21] รวมถึงการจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์บุนเดิสลีกา เป็นรองเพียงไบเอิร์นมิวนิก
ในฤดูกาล 2005–06 รังนิคพาทีมคว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล โดยเอาชนะเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท สโมสรเก่าของเขา 1–0 และในฤดูกาลนี้ชัลเคอ 04 ยังได้ร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่ไม่ผ่านรอบแบ่งกลุ่ม และผลงานของทีมก็ย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่องนับจากนั้น โดยอันดับในลีกได้ตกลงไปกลางตาราง รวมถึงการตกรอบฟุตบอลถ้วยเดเอ็ฟเบ-โพคาล โดยแพ้ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทไปถึง 0–6 ส่งผลให้รังนิคถูกปลดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005[22]
เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
[แก้]รังนิคย้ายมาร่วมงานกับสโมสรเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ในฤดูกาล 2006–07 โดยสโมสรเล่นอยู่ในเรกิโอนาลลีกา (ลีกระดับ 3) ในขณะนั้น[23] และเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่ซไวเทอบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และยังทำผลงานยอดเยี่ยมต่อเนื่องด้วยการพาทีมจบอันดับ 2 ในฤดูกาลต่อมา เลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และยังเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายเดเอ็ฟเบ-โพคาล และในฤดูกาล 2008–09 เขาพาฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 7 ในบุนเดิสลีกา
ในฤดูกาล 2009–10 ฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 11[24] ต่อมา รังนิคได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 เนื่องจากไม่พอใจที่สโมสรขายลูอิส กุสตาวู กองกลางคนสำคัญให้แก่ไบเอิร์นมิวนิกโดยไม่ผานการตัดสินใจของเขา[25]
ชัลเคอ 04 (ครั้งที่สอง)
[แก้]รังนิคกลับมาเป็นผู้จัดการทีมให้กับ ชัลเคอ 04 อีกครั้ง โดยมาแทนที่ เฟลิคส์ มากัท และชาลเคอทำผลงานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเอาชนะอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยผลประตูรวม 7–3 ก่อนจะแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบรองชนะเลิศ[26]
ถัดมาในฤดูกาล 2011–12 ชัลเคอ 04 คว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพได้ เอาชนะจุดโทษโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[27] ก่อนที่รังนิคจะลาออกอย่างกะทันหันในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 โดยให้เหตุผลว่าตนเองมีอาการล้าเรื้อรัง จากการทำงานหนักและสะสมความเครียดเป็นเวลานาน[28][29][30]
แอร์เบ ไลพ์ซิช
[แก้]หลังจากหยุดพักจากการคุมทีมไปหลายปี รังนิคซึ่งรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรียในขณะนั้น ประกาศว่าเขาจะกลับมารับทำหน้าผู้จัดการทีมให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ในฤดูกาล 2015–16 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และรัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิลเข้ามารับช่วงต่อจากเขา
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 รังนิคกลับมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมไลพ์ซิชเป็นครั้งที่สอง[31] และพาทีมทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยจบอันดับสามในบุนเดิสลีกา ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ รวมทั้งเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล ก่อนจะแพ้ไบเอิร์นมิวนิก รวมถึงทำผลงานในยูโรปาลีกได้ดีพอสมควร[32] รังนิคได้ลาทีมเมื่อจบฤดูกาล[33] และผู้ที่มาคุมทีมต่อจากเขาคือ ยูลีอาน นาเกิลส์มัน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก โดยเขาจะคุมทีมไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22 และจะรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่สโมสรไปอีกสองปีหลังจากหมดสัญญา[34] รังนิคประเดิมการคุมทีมนัดแรกในเกมพรีเมียร์ลีกวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งยูไนเต็ดเปิดโอล์ดแทรฟฟอร์ดเอาชนะคริสตัล พาเลซ 1–0[35] แต่ต่อมาทางสโมสรได้ประกาศว่ารังนิคจะไม่ทำหน้าที่ที่ปรึกษาสโมสร โดยเขาจะไปรับงานเป็นผู้จัดการทีมชาติออสเตรีย[36]
สถิติการคุมทีม
[แก้]- ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2022
สโมสร | วันที่รับตำแหน่ง | สิ้นสุด | สถิติ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนนัด | ชนะ | เสมอ | แพ้ | เปอร์เซ็นต์ในการชนะ | |||
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท (ทีมสำรอง) |
1 กรกฎาคม 1985 | 30 มิถุนายน 1987 | 70 | 28 | 16 | 26 | 40.00 |
Reutlingen 05 | 1 กรกฎาคม 1995 | 31 ธันวาคม 1996 | 51 | 26 | 12 | 13 | 50.98 |
อุล์ม 1846 | 1 มกราคม 1997 | 16 มีนาคม 1999 | 75 | 36 | 18 | 21 | 48.00 |
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท | 3 พฤษภาคม 1999[37] | 24 กุมภาพันธ์ 2001 | 86 | 36 | 16 | 34 | 41.86 |
ฮันโนเฟอร์ 96 | 23 พฤษภาคม 2001 | 8 มีนาคม 2004[38] | 98 | 44 | 22 | 32 | 44.90 |
ชัลเคอ 04 | 28 กันยายน 2004[39] | 12 ธันวาคม 2005 | 65 | 36 | 15 | 14 | 55.38 |
เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ | 22 มิถุนายน 2006 | 2 มกราคม 2011[40] | 166 | 79 | 43 | 44 | 47.59 |
ชัลเคอ 04 | 21 มีนาคม 2011 | 22 กันยายน 2011[41] | 23 | 10 | 3 | 10 | 43.48 |
แอร์เบ ไลป์ซิก | 29 พฤษภาคม 2015 | 16 พฤษภาคม 2016[42] | 36 | 21 | 7 | 8 | 58.33 |
แอร์เบ ไลป์ซิก | 9 กรกฎาคม 2018 | 30 มิถุนายน 2019 | 52 | 29 | 13 | 10 | 55.77 |
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว) | 29 พฤศจิกายน 2021[43] | 23 พฤษภาคม 2022 | 27 | 11 | 10 | 6 | 40.74 |
รวม | 749 | 356 | 175 | 218 | 47.53 |
เกียรติประวัติ
[แก้]เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี
- บุนเดิสลีการุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี; ชนะเลิศ: 1990–91
อุล์ม 1846
- เรกิโอนาลลีกา; ชนะเลิศ: 1997–98
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ; ชนะเลิศ: 2000
ฮันโนเฟอร์ 96
- ซไวเทอบุนเดิสลีกา; ชนะเลิศ: 2001–02
ชัลเคอ 04
- เดเอ็ฟเบ-โพคาล; ชนะเลิศ: 2010–11; รองชนะเลิศ: 2004–05
- เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ; ชนะเลิศ: 2011
- เดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล; ชนะเลิศ: 2005
แอร์เบ ไลป์ซิก
- เดเอ็ฟเบ-โพคาล; รองชนะเลิศ: 2018–19
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เป็นศาสตร์การเล่นฟุตบอลที่ผู้เล่นทุกคนจะต้องช่วยกันแย่งบอลกลับมาเล่นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทีมตัวเองเสียงการครอบครองบอล และจะต้องเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว เป็นหนึ่งในรูปแบบการเล่นที่ได้รับความนิยมสูงในฟุตบอลสมัยใหม่ ผู้จัดการทีมที่ขึ้นชื่อในการเล่นระบบนี้ เช่น เยือร์เกิน คล็อพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ralf Rangnick - Spielerprofil - DFB" (ภาษาเยอรมัน). dfb.de. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ RALF COMPLETES LAST MATCH IN CHARGE
- ↑ "Ralf Rangnick appointed Man Utd interim manager until end of the season". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Man Utd statement on Ralf Rangnick". www.manutd.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "MSV Duisburg - FC Schalke 04, 0:5, DFB-Pokal 2010/11 Finale". DFB Datencenter (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ralf Rangnick: The catalyst for RB Leipzig's success". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Smith, Rory (2020-12-08). "The Oracle Is Speaking Again. Who Will Listen This Time?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ "Leipzig - Germany's most divisive club". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ "Rangnick leaves role with Red Bull following failed move to Milan | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "Thomas Tuchel could become third successive German coach to win Champ…". archive.ph. 2021-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Wallrodt, Lars (2016-04-24). "Julian Nagelsmann: Das traurige Geheimnis des Bubitrainers". DIE WELT (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ "Which manager has proved the most influential of all time?". Football Supporters' Association (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-27.
- ↑ Rangnick, Ralf. "'Jürgen Klopp plays a special kind of football' – inside the mind of Liverpool's manager" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ "VfB Stuttgart II - Manager history". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Regionalliga Süd (1994-2000) 1995/96 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "SSV Ulm 1846 - Manager history". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bundesliga 2021/22 | 13. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Magath wird neuer Trainer beim VfB Stuttgart". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "2. Bundesliga 2001/02 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Hannover 96 | Trainer". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "FC Schalke 04 | Spielplan und Termine | Bundesliga 2004/05". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ralf Rangnick muss gehen". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Rangnick trainiert Hoffenheim". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Bundesliga 2009/10 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Pezzaiuoli tritt Rangnick-Nachfolge an". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Anderson lässt Schalkes Traum zerplatzen". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "FC Schalke 04 - Fixtures & Results 2011/2012". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Erschöpfungssyndrom: Ralf Rangnick tritt zurück". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ UEFA.com (2011-09-22). "Rangnick steps aside at Schalke". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Luckhurst, Samuel (2021-11-26). "Manchester United have learnt from their Ralf Rangnick mistake". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Chelsea wanted me as interim coach before turning to Tuchel, claims Rangnick | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Europa League Draw: Leipzig drawn with 'sister' club Salzburg, Frankfurt have it tough | DW | 31.08.2018". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "RB Leipzig | Trainer". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Man Utd appoint Rangnick as interim boss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.
- ↑ "Man Utd 1-0 Crystal Palace: Fred gives Ralf Rangnick winning start at Old Trafford". www.sportinglife.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ ขอให้โชคดี!แมนยูประกาศรังนิกลาขาดไม่นั่งควบที่ปรึกษา
- ↑ "Ralf Rangnick | vereinslos | Trainerprofil". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ewald Lienen übernimmt bei 96". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ralf Rangnick übernimmt S04". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Pezzaiuoli tritt Rangnick-Nachfolge an". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Erschöpfungssyndrom: Ralf Rangnick tritt zurück". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Hasenhüttl nach Leipzig - Kauczinski zum FCI". kicker (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Ralf Rangnick takes interim Manchester United job with focus on success". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-29.
- ↑ "Ralf Rangnick - Honours". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- ralfrangnickstiftung.de
- "My Epiphony", The Coaches' Voice feature on Rangnick, 12 May 2019
- "The 7 best sporting directors in world football right now", "Four Four Two" feature on Rangnick, 12 January 2017
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวเยอรมัน
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลในบุนเดิสลีกา
- บุคคลจากรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
- ผู้จัดการทีมเฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
- ผู้จัดการทีมฮันโนเฟอร์ 96
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลชัลเคอ 04
- ผู้จัดการทีมเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
- ผู้จัดการทีมแอร์เบ ไลพ์ซิช
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024